ทั้งหมด

         อ้างอิงถึงหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว52 ลงวันที่ 24 มกราคม 2566, หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว79 ลงวันที่ 31 มกราคม 2566, หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว134 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566, หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว205 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2566, หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว316 ลงวันที่ 28 เมษายน 2566 และ หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว368 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการ แจ้งรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยาที่มีปัญหาจัดซื้อ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อยา โดยอ้างอิงราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดราคากลางยา ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อยาไม่ได้ โดยอ้างอิงราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด          เพื่อให้การจัดซื้อยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาโดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการ จึงขอยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงข้างต้นทั้งหมด และขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยาที่ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ จำนวน 27 รายการ ตามไฟล์แนบ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยา ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป

10/07/2566

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดราคากลางของยา ฉบับนี้ ได้แก้ไขปรับปรุงราคากลางยา จากประกาศฉบับเดิม (ฉบับลงวันที่ 19 ธันวาคม 2565) จำนวน 116 รายการ โดยมีรายการยาที่มีรายงานปัญหาการจัดซื้อ จำนวน 44 รายการ และปรับปรุงเพิ่มเติมราคากลางยาของยากลุ่มที่มีการผูกขาดจำนวน 72 รายการ ได้แก่ รายการยาในกลุ่มที่ 3 กลุ่มยา Anti-neoplastic drugs ลำดับที่ 208 – 209, รายการยาในกลุ่มที่ 4.1 กลุ่มยา Anticoagulants ชนิดรับประทาน ลำดับที่ 12 – 14, รายการยาในกลุ่มที่ 6.1 กลุ่มยา Insulins and analogues ลำดับที่ 22 – 28, รายการยาในกลุ่มที่ 6.2 กลุ่มยา Blood glucose lowering drugs, exclude insulins สูตรยาเดี่ยว ลำดับที่ 50 – 54, รายการยาในกลุ่มที่ 6.3 กลุ่มยา Blood glucose lowering drugs, exclude insulins สูตรยาผสม ลำดับที่ 26 – 27, รายการยาในกลุ่มที่ 11 กลุ่มยา Calcium-channel blockers ลำดับที่ 34 – 36, รายการยาในกลุ่มที่ 12.2 กลุ่มยา Cephalosporins ลำดับที่ 37 – 40, รายการยาในกลุ่มที่ 14.3 กลุ่มยา COVID-19 Treatments, รายการยาในกลุ่มที่ 19.1 กลุ่มยา Angiotensin Receptor Blocker (ARB) สูตรยาเดี่ยว ลำดับที่ 18 – 19, รายการยาในกลุ่มที่ 46 กลุ่มยา Agents for dermatitis, excluding corticosteroids ลำดับที่ 4 – 5, รายการยาในกลุ่มที่ 48.1 กลุ่มยา Somatostatin and analogues ลำดับที่ 7 – 11, รายการยาในกลุ่มที่ 48.2 กลุ่มยา Somatropin and somatropin agonists, รายการยาในกลุ่มที่ 55 กลุ่มยา Antipsoriatics for systemic use ลำดับที่ 5 – 12, และรายการยาในกลุ่มที่ 91 กลุ่มยา Anti-infective skin preparations ดังปรากฏตามที่แนบท้ายประกาศฯ ฉบับนี้

10/07/2566

ด้วยคณะกรรมการพัฒนาพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ไปแล้วนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้จัดทำ (ร่าง) แนวทางกำกับการใช้ยา และ (ร่าง) แบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2) ตามประกาศข้างต้นแล้วเสร็จ รายละเอียดตามเอกสารแนบด้านล่างซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเสนอประธานกรรมการพัฒนาพัฒนาระบบยาแห่งชาติลงนามในประกาศฯ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงขอประชาสัมพันธ์ให้กับกองทุนและสถานพยาบาลรับทราบเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับแนวทางการเบิกจ่ายยานั้นให้เป็นไปตามที่แต่ละกองทุนประกาศกำหนด เอกสารแนบ 1. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา infliximab เงื่อนไข โรคโครห์น (Crohn’s disease) ที่รักษาด้วยยาพื้นฐานไม่ได้ 2. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา Infliximab เงื่อนไข โรค Ulcerative colitis ในเด็กที่รักษาด้วยยาพื้นฐานไม่ได้ 3. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา octreotide ชนิดออกฤทธิ์นาน เงื่อนไข โรคเนื้องอกต่อมใต้สมองที่ผลิตไทโรโทรปิน (Thyrotropin (TSH) secreting pituitary adenoma) 4. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา rituximab เงื่อนไข โรคนิวโรมัยอิลัยติสออฟติกาที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาพื้นฐาน (refractory neuromyelitis optica spectrum disorder) 5. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา sapropterin (BH4) เงื่อนไข ใช้สำหรับโรค tetrahydrobiopterin (BH4) deficiencies 6. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา sapropterin (BH4) เงื่อนไข ใช้สำหรับโรค phenylketonuria (PKU) 7. แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา bevacizumab เงื่อนไข 1) โรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อมเหตุสูงวัยแบบเปียกที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ใต้รอยบุ๋มจอตา (Wet form of subfoveal, juxtafoveal choroidal neovascularization (CNV) due to aged related macular degeneration) 2) โรคจุดภาพชัดจอตาบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edema: DME) 3) โรคหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตันที่มีศูนย์กลางจอตาบวม (Retinal vein occlusion with macular edema) และ 4) โรคจอตาผิดปกติในทารกคลอดกjอนกำหนด (Retinopathy of prematurity, ROP) สำหรับ (ร่าง) แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2) ชุดที่ 1 คลิกที่นี่ ชุดที่ 2 คลิกที่นี่ และชุดที่ 3 คลิกที่นี่

24/06/2566

ด้วยคณะกรรมการพัฒนาพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ไปแล้วนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้จัดทำ (ร่าง) แนวทางกำกับการใช้ยา และ (ร่าง) แบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2) ตามประกาศข้างต้นแล้วเสร็จ รายละเอียดตามเอกสารแนบด้านล่างซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเสนอประธานกรรมการพัฒนาพัฒนาระบบยาแห่งชาติลงนามในประกาศฯ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงขอประชาสัมพันธ์ให้กับกองทุนและสถานพยาบาลรับทราบเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับแนวทางการเบิกจ่ายยานั้นให้เป็นไปตามที่แต่ละกองทุนประกาศกำหนด เอกสารแนบ 1. แบบฟอร์มกำกับการใช้ยา sofosbuvir/velpatasvir และ ribavirin ข้อบ่งใช้โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกสายพันธุ์ ทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย 2. แนวทางกำกับการใช้ยา adalimumab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) 3. แนวทางกำกับการใช้ยา infliximab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (ankylosing spondylitis) 4. แนวทางกำกับการใช้ยา adalimumab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis) 5. แบบฟอร์มกำกับการใช้ยา adalimumab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) 6. แบบฟอร์มกำกับการใช้ยา infliximab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (ankylosing spondylitis) x 7. แบบฟอร์มกำกับการใช้ยา adalimumab เงื่อนไข ใช้สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis) x สำหรับ (ร่าง) แนวทางและแบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2) ชุดที่ 1 คลิกที่นี่ และชุดที่ 2 คลิกที่นี่

24/06/2566

แบบสำรวจชุดนี้จัดทำขึ้นโดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อใช้สำรวจข้อมูลสถานการณ์รายการยากำพร้าในโรงพยาบาลของท่าน โดยข้อมูลที่ได้จากท่านจะนำไปวิเคราะห์และจัดทำมาตรการในเชิงบริหารจัดการเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ และเตรียมความพร้อมสำหรับการเตรียมรับมือยากำพร้าที่อาจขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่เกี่ยวข้องดังกล่าว  ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้มิได้มีการเปิดเผยผู้ให้ข้อมูลแต่อย่างใด ข้อมูลและเอกสารประกอบ นิยามยากำพร้าของประเทศไทย: “ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน" โดยปัจจุบันได้มีการประกาศรายการยากำพร้าตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปี 2564 ทั้งสิ้น 13 ฉบับ สำหรับปัจจุบันท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง บัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ. 2564 ตามไฟล์แนบ   ***ท่านสามารถส่งแบบสอบความคิดเห็นฉบับนี้ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1. แบบสอบถาม online เพื่อสำรวจสถานการณ์ยากำพร้าตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ.2564 ได้ที่ https://forms.gle/52YqtvxioywZjK4y5 2. ดาวน์โหลด / สำเนาเอกสาร ตอบกลับทางอีเมล orphandrug.th@gmail.com ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566

12/06/2566

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 คลิกที่นี่

12/06/2566

ด้วยคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา มีหน้าที่พิจารณาจัดทำและปรับปรุงรายการยากำพร้า อยู่ระหว่างการเปิดรับแบบเสนอยาแผนปัจจุบันเพื่อปรับปรุงบัญชียากำพร้า ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี พ.ศ.2566 (ไม่รวม vaccine) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2566     คำนิยาม  ยากำพร้า ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน ในที่นี้ หมายรวมถึง วัตถุเสพติด ด้วย สิทธิประโยชน์ยากำพร้า 1) อย. อำนวยความสะดวกและจัดระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยากำพร้าในช่องทางด่วน  2) ไม่จัดเก็บค่าใช้ในการใช้จ่ายในกระบวนการพิจารณาอนุญาต ตามประกาศค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคาขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. 2565 3) ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าสำหรับยากำพร้าเพื่อหวังสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนและนำเข้ายากำพร้ามากยิ่งขึ้น  หมายเหตุ • เปิดรับการยื่นแบบเสนอยาทางช่องทาง email: orphandrug.th@gmail.com เท่านั้น (ไม่รับการยื่นเสนอที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยา) • กรุณาตรวจสอบบัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ. 2564 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ก่อนดำเนินการส่งข้อมูล  หากมีสถานะเป็นยากำพร้าเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องยื่นแบบเสนอยาใหม่ในรอบนี้  • บัญชียากำพร้า ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ และการเบิกจ่ายของกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ • หากเอกสารที่ส่งกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ถูกต้อง คณะอนุกรรมการฯ สงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาแบบเสนอยานี้ • ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อได้ที่ ทีมยากำพร้าและยาขาดแคลน email: orphandrug.th@gmail.com กรอกแบบเสนอยาเพื่อปรับปรุงบัญชียากำพร้า โดยท่านสามารถ Download แบบเสนอยาและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

09/06/2566

ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 และให้ใช้รายการยาสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข โดยประกาศดังกล่าวมีรายการยาเพิ่มใหม่ จำนวน 3 รายการ และแก้ไข/เปลี่ยนแปลง จำนวน 2 รายการ ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2566) เป็นต้นไป นั้น บัดนี้ ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 ฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 100 ง หน้า 44 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้ง สรุปรายการยาที่มีการปรับปรุงจากประกาศฉบับก่อนหน้า) ได้ทาง link ด้านล่างนี้  จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

01/05/2566

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 18 เมษายน 2566 ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวอยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เตรียมการและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download ประกาศดังกล่าวได้ทาง link ด้านล่างนี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

19/04/2566

          ด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา จัดให้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี นั้น           เพื่อเป็นการชี้แจงแนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา ให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมมากขึ้น สำนักงานฯ จึงได้มีการเผยแพร่ วิดีโอบันทึกการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนา บัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา ดังนี้ ลิงค์ VDO Youtube การประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา (พ.ศ. 2565 - 2567) (16 มี.ค. 66) Facebook Live : | การประชุมชี้แจง เรื่อง แนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 9.30 - 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์... | By FDA Thai | Facebook หัวข้อในการบรรยาย พิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา นาทีที่ 0.01.45 การบรรยาย เรื่อง การพัฒนากระบวนการ  หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ นาทีที่ 0.15.25 การอภิปราย เรื่อง การพัฒนากลไกการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียาหลักแห่งชาติ นาทีที่ 1.01.16 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ นาทีที่ 2.01.20 การบรรยาย เรื่อง หลักเกณฑ์ ขั้นตอน แนวปฏิบัติในการจัดทำราคากลางยา นาทีที่ 3.42.40 การบรรยาย เรื่อง ราคากลางยากับ พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นาทีที่ 4.22.00 การบรรยาย เรื่อง ราคากลางยากับการส่งเสริมการใช้ยาสามัญในโรงพยาบาลของรัฐ นาทีที่ 4.47.20 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อราคากลางยาและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดซื้อยาของภาครัฐ นาทีที่ 5.48.00 และขอเชิญผู้สนใจร่วมตอบคำถามและแสดงความพึงพอใจภายหลังการประชุม เพื่อลุ้นรางวัลที่ระลึกโดย scan QR code ด้านบน หรือ คลิก link ต่อไปนี้ แบบสอบถามโครงการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา แบบสอบถามความพึงพอใจโครงการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนา บัญชียาหลักแห่งชาติและราคากลางยา หมายเหตุ ประกาศผู้ที่ได้รับรางวัลในรอบที่ 1 รายชื่อดังนี้ คุณจันทริกา xxx โรงพยาบาลพระปกเกล้า คุณฉัตราภรณ์ xxx โรงพยาบาลดำเนินสะดวก คุณวินณิชา​ xxx โรงพยาบาลปัตตานี คุณชัยวัฒน์ xxx โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คุณเพ็ญระพี xxx โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ คุณยุวพรรณ xxx สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี คุณปัญจะ xxx โรงพยาบาลพิจิตร คุณอาภรณ์​ xxx ​ โรงพยาบาล​พระ​นั่ง​เกล้า น.อ.รุ่งพันธุ์ xxx โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า คุณนิธีร์ xxx โรงพยาบาลรามคำแหง

07/04/2566