ทั้งหมด

การเปิดรับแบบเสนอยาแผนปัจจุบันเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ.2565-2567 (ไม่รวม vaccine)                         คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ อยู่ระหว่างการเปิดรับแบบเสนอยาแผนปัจจุบันเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ.2565-2567 (ไม่รวม vaccine) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 23.59 น.  โดยมีขั้นตอนการยื่นแบบเสนอยา ดังนี้    1.ตรวจสอบสถานะของยาที่ท่านต้องการยื่นแบบเสนอยา ว่าเป็นรายการยาค้างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ในรอบปี พ.ศ. 2562-2564 หรือไม่ ตรวจสอบที่นี่   หากมีสถานะเป็นยาค้างการพิจารณา ไม่ต้องยื่นแบบเสนอยาใหม่ในรอบนี้    2.กรอกแบบเสนอยาแผนปัจจุบันเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ         1.ผู้เสนอจากภาคเอกชน Download แบบเสนอยาที่นี่          2.ผู้เสนอจากภาครัฐ องค์กรวิชาชีพ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Download แบบเสนอยาที่นี่    3.ลงทะเบียนเข้าใช้งานเว็บไซต์ยื่นแบบเสนอยาที่นี่  เพื่อขอรหัส PIN สำหรับ login ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยรหัส PIN จะถูกส่งให้ท่านทาง e-mail ภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2565    4.Login เข้าเว็บไซต์ยื่นแบบเสนอยา เพื่อ upload file แบบเสนอยาที่กรอกเรียบร้อยแล้ว พร้อมกรอกข้อมูลการยื่นเสนอยา  โดยปิดรับแบบเสนอยาวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 23.59 น. หมายเหตุ ระบบจะออกเลขรับให้ท่านโดยอัตโนมัติ จึงจะถือว่าการยื่นแบบเสนอยาเสร็จสมบูรณ์ โปรดจดเลขรับดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง เปิดรับการยื่นแบบเสนอยาทางช่องทาง online เท่านั้น (ไม่รับการยื่นเสนอที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยา) หากเอกสารที่ส่งกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ถูกต้อง คณะอนุกรรมการฯ สงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาแบบเสนอยานี้ สามารถศึกษาเอกสารการประชุมชี้แจง แนวทางการเสนอยาเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้จาก Link นี้  กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ให้สอบถามทางอีเมล nlem.fda@gmail.com จำนวนผู้เข้าชม 

10/11/2565

       ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ                     ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนรายเดือน ณ ตุลาคม 2565  จำนวน 17 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 15 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 2 ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่                 (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP                        (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า              (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง  (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น        (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ

03/11/2565

ประกาศรับสมัครทีมวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรายการยาที่เสนอเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2565-2567           เนื่องด้วยคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2565-2567 มีมติเห็นชอบให้มีการเปิดรับสมัครทีมวิจัยที่สังกัดหน่วยงานภาครัฐ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรายการยาที่ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานฯ และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นกลาง คณะทำงานฯ ได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกทีมวิจัยและแนวทางการดำเนินงานวิจัยดังนี้ เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกทีมวิจัย 1. เป็นผู้ที่ทำงานสังกัดหน่วยราชการ หรือ หน่วยงานของรัฐ หรือ หน่วยงานในกำกับของรัฐ หรือ องค์การที่ไม่แสวงหากำไร 2. ในทีมวิจัยต้องมีนักวิจัยอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และ/หรือการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีผู้ทบทวน อย่างน้อย 1 เรื่อง 3. ในระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ นักวิจัยต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมกับรายการยาที่จะประเมิน ตามที่“เกณฑ์จริยธรรมในการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2565” กำหนดไว้ แนวทางการดำเนินงานวิจัย ในกรณีที่ทีมวิจัยได้รับมอบหมายให้ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรายการยาที่นักวิจัยไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม ทีมวิจัยจะต้องดำเนินงานวิจัยโดยยึดหลักการทำงานดังต่อไปนี้ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปตามมาตรฐานการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ 1. นำเสนอโครงร่างวิจัยต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ คณะทำงานเศรษฐศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนเริ่มงานวิจัย 2. ทำการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยอ้างอิงระเบียบวิธีวิจัยตามคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1, 2 และ 3 (ฉบับที่ 3 จะมีการเผยแพร่หลังจากผ่านการรับรองจากคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขฯ และคณะ อนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ) ที่ผ่านการรับรองจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ 3. ผลการวิจัยจะต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพงานจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ทบทวนทั้งภายในและภายนอก 4. ปรับแก้ไขผลการวิจัยตามความเห็นของผู้ทบทวน และนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะทำงานเศรษฐศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อพิจารณาภายหลังจากการตรวจสอบคุณภาพเป็นที่เรียบร้อย 5. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เป็นภาษาไทย   “หากท่านหรือหน่วยงานของท่านสนใจทำการวิจัยเพื่อพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ โปรดกรอกใบสมัคร พร้อมแนบประวัติย่อของท่านและทีมวิจัยของท่านมาที่ nlem.econ@gmail.com  สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขจะเป็นผู้ทำการคัดเลือกและตอบกลับท่าน เมื่อได้รับรายการยาที่ต้องทำการประเมินจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ”   ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร 02-590-7155   จำนวนผู้เข้าชม 

02/11/2565

ด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ จะจัดให้มีการประชุมชี้แจง เรื่อง แนวทางการเสนอยาเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรวิชาชีพและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในปรัชญา หลักการ และเกณฑ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และชี้แจงแนวทางการเสนอยาเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง เรื่อง แนวทางการเสนอยาเพื่อปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ ในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 ถึง 16.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาคาร 4 ชั้น 6 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือประชุมผ่านทางโปรแกรม Zoom meeting ตาม link: https://bit.ly/3CdqW7v หรือ meeting ID: 918 1597 5652 passcode: 565865 โดยมีกำหนดการการประชุมตามไฟล์แนบด้านล่าง และโปรดตอบรับการประชุมตามไฟล์แนบด้านล่าง ภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ สามารถดูเอกสารประกอบการประชุมได้ทาง https://bit.ly/NLEM2022 จึงเรียนมาเพื่อโปรดเข้าร่วมการประชุม ตามวัน เวลา และสถานที่ข้างต้น หรือประชุมผ่านทางโปรแกรมฯ ด้วย จะเป็นพระคุณ หมายเหตุ: จำกัดผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1 ท่าน/หน่วยงาน และจำกัดผู้เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 1 ท่าน/หน่วยงาน จำนวนผู้เข้าชม 

26/10/2565

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2551 ได้กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดราคากลางยาในการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐให้ทันสมัย โดยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกำหนดราคากลางยาขึ้นใหม่ และคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาพิจารณาดำเนินการ โดยอนุกรรมการฯ มีมติเร่งทบทวนและปรับปรุงราคากลางยาที่หน่วยงานรัฐมีปัญหาในการจัดซื้อภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดราคากลางยา ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2565 (รายละเอียดปรากฏตามเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/ndi_news_detail/index/293) เพื่อให้การพิจารณากำหนดราคากลางยาที่มีปัญหาจัดซื้อของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  คณะอนุกรรมการฯ จึงเปิดรับข้อเสนอราคากลางยาในการจัดซื้อเฉพาะที่ท่านไม่สามารถจำหน่ายได้ โดยส่งแบบสำรวจราคากลางยาปัญหาจัดซื้อตามประกาศฯ ตาม QR Code ที่ระบุในไฟล์แนบ ภายในวันที่ 25 ตุลาคม 2565  ทั้งนี้ หากผู้รับอนุญาตไม่สามารถจำหน่ายยาตามราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งกองนโยบายแห่งชาติด้านยาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน                     จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และส่งแบบสำรวจราคากลางยาปัญหาจัดซื้อ ตามประกาศฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย จะเป็นพระคุณ

19/10/2565

       ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ                      ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ กันยายน 2565  จำนวน 37 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 14 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 22 รายการ และ อื่นๆ  1 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่                 (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP                        (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า              (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง  (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น        (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ

10/10/2565

ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565 โดย 1) ให้ยกเลิกความใน (82) รายการยาจากสมุนไพร แนบท้ายประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 และให้ใช้ความในประกาศฉบับนี้แทน 2) ให้เพิ่มรายการยาจากสมุนไพรแนบท้ายประกาศนี้ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร และ 3) รายละเอียดของรายการยาจากสมุนไพรให้เป็นไปตามประกาศคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร เรื่อง คู่มือการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใข้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2565) นั้น บัดนี้ ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 231 ง หน้า 4 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ทาง link ด้านล่างนี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

30/09/2565

ตามหนังสือที่อ้างถึง คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ยา Quinine sulfate tab 300 mg ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป

27/09/2565

ตามหนังสือที่อ้างถึง คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป โดยมีรายการยาดังต่อไปนี้ 1. Thioridazine hydrochloride tablet 10 mg 2. Thioridazine hydrochloride tablet 25 mg 3. Thioridazine hydrochloride tablet 50 mg 4. Thioridazine hydrochloride tablet 100 mg

27/09/2565

     ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ                       ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ สิงหาคม 2565  จำนวน 33 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 10 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 21 รายการ และ อื่นๆ  2 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่                 (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP                        (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า              (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง  (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น        (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ  

07/09/2565