ทั้งหมด

          ด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ รับฟังข้อคิดเห็น เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ การจัดลำดับยาขาดแคลน และจัดทำคู่มือ/แนวทางการแก้ไขปัญหายาขาดแคลน  วันที่ 14  มีนาคม 2567  มีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาครัฐ เอกชน และประชนชน ประมาณ 50 ท่าน กองนโยบายแห่งชาติด้านยา ได้นำผลการประชุมมาจัดทำกรอบรายการยาตามลำดับความสำคัญตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ยาจำนวน 22 รายการและ เวชภัณฑ์ จำนวน 4 รายการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการติดตามเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ผ่านโปรแกรม Stockpile 3 Application ให้สอดคล้องหลักเกณฑ์ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย นั้น           ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอความอนุเคราะห์ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบัน ในการส่งรายงานข้อมูลปริมาณยาคงคลัง (Stockpile) ของยาจำนวน 22 รายการ ผ่านแอพพลิเคชั่น Stockpile 3 ที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาพัฒนาขึ้น ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับวางแผนบริหารจัดการด้านยาให้มีประสิทธิภาพ  วันที่ 1 ของทุกเดือน โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อประสานงานทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์drugshortages.th@gmail.com เท่านั้น โดยขอยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับจะนำไปวิเคราะห์ปริมาณยาคงคลังในภาพรวมของประเทศ และจะไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอกเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเท่านั้น             จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย จะเป็นพระคุณ  

02/04/2567

       ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) ๐๔๐๕.๒/ว ๒๑๓ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น       เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อไป      จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

29/02/2567

ด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ในช่วงการประชุมเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือนมกราคม 2567 ได้จัดทำ (ร่าง) แนวทางกำกับการใช้ยา และแบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2) เสร็จเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดตามเอกสารแนบด้านล่าง นั้น บัดนี้ (ร่าง) แนวทางกำกับการใช้ยา และแบบฟอร์มกำกับการใช้ยาในบัญชี จ (2)  ข้างต้น อยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอประธานกรรมการพัฒนาพัฒนาระบบยาแห่งชาติลงนาม และประกาศทางราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงขอประชาสัมพันธ์ให้กับกองทุนและสถานพยาบาลรับทราบเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับแนวทางการเบิกจ่ายยานั้นให้เป็นไปตามที่แต่ละกองทุนประกาศกำหนด จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

06/02/2567

อ้างอิงถึง          1.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 545 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566          2.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 606 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2566          3.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 696 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2566          4.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 742 ลงวันที่ 15 กันยายน 2566          5.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 830 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2566          6.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 886 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566          7.หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1015/ว 959 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2566                ตามที่อ้างถึง กองนโยบายแห่งชาติด้านยา แจ้งรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนราคากลางยา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดราคากลางยา ลงวันที่ 4 มกราคม 2567 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อยาไม่ได้ นั้น                 เพื่อให้การจัดซื้อยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น และขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา จำนวน 41 รายการ ตามไฟล์แนบ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

01/02/2567

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ องค์การมหาชน (TCELS) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ถอดบทเรียนจากผลการดำเนินงานพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ระยะต้น (ปี พ.ศ. 2565-2566) เพื่อพัฒนาระบบการคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและทันการณ์ (NLEM moving forward 2024) ระหว่างวันที่ 15 ถึง 17 มกราคม 2567 ณ โรงแรม ณ ทรีธารา ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรม Zoom) ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมรวมกว่า 50 คน ทั้งในส่วนของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ประธานคณะทำงานภายใต้การแต่งตั้งของคณะอนุกรรมการฯ ผู้แทนกองทุนในระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ตลอดจนผู้แทนภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุม คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและทันการณ์ 2) เพื่อประเมินผล วิเคราะห์ ถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติระยะต้น (ปี พ.ศ. 2565-2566) โดยเฉพาะกลุ่มยาที่จัดเป็นยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ยา/กลุ่มโรคที่เป็นนโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญ และกลุ่มยาราคาแพง และ 3) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการคัดเลือกยาและพัฒนาการจัดการข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพิจารณาการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติให้เป็นระบบ โดยในช่วงเช้าของวันที่ 15 มกราคม 2567 น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม รวมทั้งได้รับเกียรติจาก นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากับเป้าหมายในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน” จากนั้นต่อด้วยเวทีเสวนา เรื่อง “ระบบการพิจารณายาในและยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติของกองทุนในระบบประกันสุขภาพภาครัฐ” โดย ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม ผู้แทนกลุ่มผู้ป่วย และผู้แทนโรงพยาบาล โดยผู้เข้าร่วมการเสวนา และวิทยากรได้แบ่งปันประสบการณ์ด้วยกันจากหลายมุมมอง และในช่วงบ่าย ฝ่ายเลขานุการงานบัญชียาหลักแห่งชาติได้นำเสนอ “สรุปผลการดำเนินงานพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ระยะต้น (ปี พ.ศ. 2565-2566)” และการพัฒนา “ระบบ dashboard ของบัญชียาหลักแห่งชาติ” วันที่สองของการประชุมในช่วงเช้า (16 มกราคม 2567) ได้มีข้อเสนอที่สำคัญจากมุมมองของคณะทำงานสนับสนุนวิชาการของบัญชียาหลักแห่งชาติในหลายประเด็น ได้แก่ “การปรับปรุงกระบวนการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อระบบการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” โดยผู้แทนคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข “ข้อเสนอกลไกและกระบวนการในการพิจารณา MEA เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียาหลักแห่งชาติ” โดยผู้แทนคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ และ “การปรับบัญชียาพิเศษที่กำหนดแนวทางการใช้ยา (restricted list; R2) เป็นบัญชียาปกติ” โดยผู้แทนคณะทำงานกำกับดูแลการสั่งใช้ยาในบัญชี จ (2)  และยาที่มีเงื่อนไขการสั่งใช้ จากนั้นในช่วงบ่ายดำเนินการประชุมระดมสมองเพื่อออกแบบระบบการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและทันการณ์ จำนวน 2 กลุ่ม ในรูปแบบ World café โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็น และมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติหลายประการ และวันสุดท้ายของการประชุม (17 มกราคม 2567) ฝ่ายเลขานุการงานบัญชียาหลักแห่งชาติได้ดำเนินการสรุปผลการประชุมตลอดจนจัดทำข้อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้นำไปพิจารณาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและเข้าถึงรายการยาที่ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วต่อไป สำหรับการติดตามความคืบหน้าของการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปัจจุบันกองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้ดำเนินการพัฒนาระบบติดตามการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ระบบ dashboard) ในรอบปี พ.ศ. 2565 - 2567 ทาง link bit.ly/edstatus65-67 ข่าวกองนโยบายแห่งชาติด้านยา (17 มกราคม 2567)

26/01/2567

ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 213 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ที่อ้างถึง คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

05/01/2567

 ด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาในการประชุมครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 มีมติเห็นชอบต่อกรอบรายการยาในการจัดทำราคากลางยา ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้สอดคล้องตามขั้นตอนการกำหนดราคากลางยา และประธานอนุกรรมการฯ เห็นควรให้แจ้งเวียนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบต่อไป เพื่อให้การดำเนินการจัดทำราคากลางยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองยาจึงเห็นควรส่งกรอบรายการยาในการจัดทำราคากลางยา ประจำปีงบประมาณ 2567 ตามมติคณะอนุกรรมการฯ รายละเอียดตามไฟล์แนบ

12/12/2566

ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 213 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ที่อ้างถึง คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา โดยกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ในฐานะฝ่ายเลขานุการจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

01/12/2566

          ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ข้อ 3 (1) (ก) กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยาได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บทั้งหมด โดยไม่จัดเก็บค่าใช้จ่ายใดๆตามบัญชีที่แนบท้ายประกาศ กรณีที่เป็นตำรับยาตามบัญชียามุ่งเป้า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้    ข้อ 1 ให้คำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับตำรับยา ได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ โดยไม่จัดเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565    ข้อ 2 รายการยามุ่งเป้าตามประกาศนี้ ให้มีอายุสามปีนับตั้งแต่ประกาศมีผลบังคับใช้      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป   จำนวนผู้เข้าชม 

17/11/2566

          ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนยาตามบัญชียามุ่งเป้า ซึ่งเป็นยาที่มีความสำคัญต่อการเข้าถึงยา เสริมสร้างเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางยาของประเทศโดยให้มีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นกรณีเร่งด่วนสำหรับรายการยาจำนวน 90 รายการ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาตามบัญชียามุ่งเป้าที่จะดำเนินการเร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นั้น            เพื่อให้การดำเนินการมาตรการเร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยาตามรายการยาในบัญชียามุ่งเป้า เหมาะสมกับสถานการณ์ระบบยาในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาตามบัญชียามุ่งเป้าที่จะดำเนินการเร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้อ 2 รายการยามุ่งเป้าตามประกาศนี้ หมายความรวมถึง ยาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 3 ให้รายการยาที่ผลิตในประเทศ ตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้เป็นรายการยามุ่งเป้า และให้คำขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้รับการพิจารณาคำขอเป็นกรณีเร่งด่วน ข้อ 4 บรรดาคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาตามบัญชียามุ่งเป้าที่จะดำเนินการเร่งรัดการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ยื่นไว้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ได้รับการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นกรณีเร่งด่วนตามประกาศนี้ด้วย ข้อ 5 รายการยามุ่งเป้าตามประกาศนี้ ให้มีอายุสามปีนับตั้งแต่ประกาศมีผลบังคับใช้                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป     จำนวนผู้เข้าชม     

17/11/2566