ทั้งหมด
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 23 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 10 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 11รายการ และ อื่นๆ 2 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีการปรับเพิ่มรายการ ปรับปรุงเงื่อนไข เพิ่มแนวทางกำกับการใช้ ยาบางรายการ สรุปได้ดังนี้ เป็นการเพิ่ม/ปรับปรุงรายการยาใน กลุ่มยาบัญชี จ(2) - เพิ่มรายการยาจำนวน 2 รายการ คือ 1. Ceftazidime + Avibactam 2. Tocilizumab - เพิ่มข้อบ่งใช้พร้อมแนวทางกำกับการใช้ยา 2 รายการ คือ 1. Imatinib 2. Dasatinib ทั้งนี้ ให้ มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 43 ง วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 หน้า 105-107) จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ทาง link ด้านล่างนี้ *ตัวอย่าง*แบบฟอร์มกำกับการใช้ตามประกาศ (ทั้งนี้ให้สถานพยาบาลตรวจสอบแบบฟอร์มตามที่กองทุนมีการประกาศกำหนดต่อไป) จำนวนผู้เข้าชม
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ มีนาคม 2565 จำนวน 26 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 13 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) 11 จำนวน รายการ และ อื่นๆ 2 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ
อ้างถึง หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 213 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป โดยมีรายการยาดังต่อไปนี้ 1. Chlorpromazine hydrochloride tablet 25 mg 2. Chlorpromazine hydrochloride tablet 50 mg 3. Chlorpromazine hydrochloride tablet 100 mg 4. Paracetamol tablet 500 mg 5. Chloramphenicol sodium succinate sterile powder 1000 mg/1 vial 6. Levothyroxine sodium tablet 50 mcg 7. Probenecid tablet 500 mg
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ มกราคม 2565 จำนวน 20 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 8 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 12 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ ธันวาคม 2564 จำนวน 17 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 9 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 8 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ
ขอประขาสัมพันธ์ความคืบหน้าของยามะเร็งทั้ง 3 รายการ ได้แก่ Melphalan ทั้งรูปแบบเม็ดและฉีด และยา Mercaptopurine รูปแบบเม็ด ด้วยกองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้รับแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามะเร็งจากทางโรงพยาบาลและได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลเพื่อร่วมหามาตรการในการแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 12 พ.ย.64 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบต่อการรักษาน้อยที่สุด กองนโยบายแห่งชาติด้านยาจึงได้เร่งประสานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับกองยา อย. และบริษัทผู้รับอนุญาต ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ยาทั้ง 3 รายการ คาดการณ์ว่าจะสามารถพร้อมจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมกราคม 2565 โดยท่านสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ตามไฟล์แนบที่เผยแพร่มาพร้อมนี้ อนึ่ง นิยามรายการยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ semenax
ด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบต่อกรอบรายการยาในการจัดทำราคากลางยา ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้สอดคล้องตามขั้นตอนการกำหนดราคากลางยา และประธานอนุกรรมการฯ เห็นควรให้แจ้งเวียนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบต่อไป เพื่อให้การดำเนินการจัดทำราคากลางยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองยาจึงเห็นควรส่งกรอบรายการยาในการจัดทำราคากลางยา ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามมติคณะอนุกรรมการฯ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ พฤศจิกายน 2564 จำนวน 16 รายการ เป็นรายการการยาที่อยู่ในสถานะยังขาดแคลน (Currently in shortage) จำนวน 11 รายการ เป็นรายการยาที่อยู่ในสถานะแก้ไขเสร็จแล้ว (Resolved) จำนวน 5 รายการ ยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ จำนวนผู้เข้าชม
ตามหนังสือที่อ้างถึง กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้ขอความร่วมมือจากผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบัน ให้รายงานข้อมูลปริมาณยาคงคลัง (Stockpile) จำนวน 70 รายการ ผ่านแอพพลิเคชั่นที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาพัฒนาขึ้น โดย ให้สรุปข้อมูลทุกสิ้นเดือนของเดือนก่อน และรายงานในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับวางแผนบริหารจัดการด้านยาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดผลกระทบที่เกิดจากการขาดแคลนยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา ขอเรียนว่า จากสถานการณ์การการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย จึงขอปรับการรายงานข้อมูลปริมาณยาคงคลัง (Stockpile) จากจำนวน 70 รายการเป็น 70 รายการ ซึ่งกำหนดให้ท่านสรุปข้อมูลทุกวันที่ 1 ทุกเดือน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น Stockpile 3 ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อประสานงานทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ drugshortages.th@gmail.com เท่านั้น โดยขอยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับจะนำไปวิเคราะห์ปริมาณยาคงคลังในภาพรวมของประเทศ และจะไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเท่านั้น จำนวนผู้เข้าชม