ทั้งหมด
ตามที่กองยาได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองยาจึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 6 รายการ โดยรายการยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ จำนวนผู้เข้าชม
ตามหนังสือที่อ้างถึง (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ 1009.6/ว2670 ลงวันที่ 25 กันยายน 2563) กองยาแจ้งรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยาที่มีปัญหาจัดซื้อ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อยา โดยอ้างอิงราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดราคากลางยา ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐ จัดซื้อยาไม่ได้โดยอ้างอิงราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด เพื่อให้การจัดซื้อยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองยาจึงขอยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น และขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ยา Benzylpenicillin (penicillin G sodium) sterile pwdr 5 MU/vial ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อไป
แบบรายงานปัญหาการขาดแคลนยาของโรงพยาบาล แบบรายงานปัญหาการขาดแคลนยานี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้โรงพยาบาลรายงานปัญหาการขาดแคลนยามายังกองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาที่มีความจำเป็น และส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขที่ปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาทั้งประเทศและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายได้อย่างทันท่วงที จึงอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการให้ข้อมูลโดยข้อมูลที่ได้รับจากท่านเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการด้านยาทั้งระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งท่านสามารถรายงานปัญหาการขาดแคลนยาผ่านทางลิงค์ https://forms.gle/Cw7UY3S4cSCmJ7iN7
ตามที่ กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับข้อร้องเรียนปัญหาการขาดแคลนยาจำเป็นจากโรงพยาบาลอยู่เป็นระยะๆ จากการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหายาขาดแคลนพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการผลิต อัตราการใช้ยาที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาด้านการขนส่ง ปัญหาด้านการจัดซื้อ เหตุผลเชิงธุรกิจ และการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือภัยธรรมชาติ ดังนั้น กองยาจึงได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการด้านยาขาดแคลนเป็นไปอย่างยั่งยืนและมียาใช้อย่างเพียงพอ ในการนี้ กองยาจึงขอความอนุเคราะห์จากบริษัทท่านให้รายงานข้อมูลปัญหาการขาดแคลนยาล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน หรือทันทีที่ทราบ ในกรณีที่ 1) บริษัทคาดการณ์ว่าจะมีแผนยกเลิกผลิต/นำเข้า หรือ 2) กรณีที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลนยาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผ่านช่องทางและแบบแจ้งปัญหาการขาดแคลนยา รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยสามารถเริ่มรายงานได้ตั้งแต่ วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ขอเรียนว่าข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าจะไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเท่านั้น และหากมีข้อสงสัยประการใดโปรดติดต่อประสานงานกลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ drugshortages.th@gmail.com
ด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำราคากลางยาตามกรอบรายการยาในการจัดทำราคากลางยา ประจำปีงบประมาณ 2564 (รายละเอียดปรากฏตามเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/ndi_news) โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ตามข้อมูลการติดต่อที่ผู้รับอนุญาตฯ แจ้งไว้กับกองยา และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การติดต่อประสานงานระหว่างคณะอนุกรรมการฯ และผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง กองยาจึงขอความร่วมมือจากท่านกรอกรายชื่อ และข้อมูลการติดต่อสื่อสารของผู้ประสานงานที่เป็นปัจจุบัน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย และภายหลังหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงาน ขอให้แจ้งกลับมายังกองยาด้วย ทั้งนี้ ขอให้ส่งเป็นไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มายัง nlem.price@gmail.com ภายในเดือนมกราคม 2564 จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความร่วมมือจัดส่งรายชื่อผู้ประสานงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2551 ได้กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดราคากลางยาในการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐให้ทันสมัย โดยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกำหนดราคากลางยาขึ้นใหม่ และคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจาณากำหนดราคากลางยาพิจาณาดำเนินการ โดยอนุกรรมการฯ มีมติเร่งทบทวนและปรับปรุงราคากลางยาที่หน่วยงานรัฐมีปัญหาในการจัดซื้อภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดราคากลางยา ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2563 (รายละเอียดปรากฏตามเว็บไซต์ http://ndi.fda.moph.go.th/ndi_news) 1. กรณีผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้การพิจารณากำหนดราคากลางยาที่มีปัญหาจัดซื้อของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการฯ จึงเปิดรับข้อเสนอราคากลางยาในการจัดซื้อเฉพาะที่ท่านไม่สามารถจำหน่ายได้ โดยส่งแบบเสนอราคากลางยา (เอกสารแนบ 1) ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มายัง nlem.price@gmail.com ภายในเดือนมกราคม 2564 ทั้งนี้ หากผู้รับอนุญาตไม่สามารถจำหน่ายยาตามราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งกองยาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน 2. กรณีผู้อำนวยการโรงพยาบาล/คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้การพิจารณากำหนดราคากลางยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการฯ จึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานของท่านพิจารณาจัดทำข้อเสนอทบทวนราคากลางยาที่มีปัญหาจัดซื้อตามแบบทบทวนราคากลางยา (เอกสารแนบ 2) ภายในเดือนมกราคม 2564 ในการนี้ ขอให้ส่งแบบเสนอยาที่มีปัญหาเร่งด่วนทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มายัง nlem.price@gmail.com ทั้งนี้ หากหน่วยงานของท่านไม่สามารถจัดซื้อยาตามราคากลางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติกำหนด ให้หน่วยงานของท่านแจ้งกองยาทันที เมื่อทราบจากผู้จำหน่าย
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2562 และให้ใช้รายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยประกาศดังกล่าวมีรายการยาเพิ่มใหม่ จำนวน 4 รายการ คัดออก จำนวน 3 รายการ (ภาคผนวก 1 จำนวน 2 รายการ และภาคผนวก 2 จำนวน 1 รายการ) และปรับปรุงรายการยาเดิม จำนวน 26 รายการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใข้เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั้น บัดนี้ ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 254 ง หน้า 3 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสรุปรายการยาที่มีการปรับปรุงจากประกาศบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และรายการยาตามประกาศบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ในรูปแบบ Excel ได้ทาง link ด้านล่างนี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน จำนวนผู้เข้าชม
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดราคากลางของยา ฉบับนี้ ได้แก้ไขปรับปรุงราคากลางยา จากประกาศฉบับเดิม (ฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน 2563) จำนวน 195 รายการ โดยมีรายการยาที่มีรายงานปัญหาการจัดซื้อ จำนวน 37 รายการ ดังต่อไปนี้ 1. Amlodipine besilate tab 5 mg 2. Amlodipine besilate tab 12 mg 3. Amoxicillin trihydrate dry syr 125 mg/5ml (60 ml) 4. Amoxicillin trihydrate dry syr 250 mg/5ml (60 ml) 5. Benzoic acid+Salicylic acid (Whitfield’s ointment) oint 15 g 6. Benzyl benzoate emulsion 25% (450 ml) 7. Calamine lotion (60 ml) 8. Cefazolin sodium sterile pwdr 1 g/vial 9. Cefotaxime sodium sterile pwdr 1 g/vial 10. Dimenhydrinate sterile sol 50 mg/ml (1 ml) 11. Enalapril maleate tab 5 mg 12. Enalapril maleate tab 10 mg 13. Enalapril maleate tab 20 mg 14. Fluoxetine hydrochloride cap/tab 20 mg 15. Glipizide tab 5 mg 16. Glycerol rectal supp 1.365 g (Pediatric) 17. Glycerol rectal supp 1.5 g (Pediatric) 18. Glycerol rectal supp 2.32 g (adult) 19. Glycerol rectal supp 2.55 g (adult) 20. Isosorbide dinitrate tab 10 mg 21. Losartan potassium tab 50 mg 22. Losartan potassium tab 100 mg 23. Metformin hydrochloride tab 500 mg 24. Metformin hydrochloride tab 850 mg 25. Metronidazole sterile sol (as base) 500 mg/100 ml (100 ml) 26. Paracetamol (Acetaminophen) syr 120 mg/5 ml (60 ml) 27. Paracetamol (Acetaminophen) tab 325 mg 28. Phenobarbital tab 30 mg 29. Phenobarbital tab 32.5 mg 30. Phenobarbital tab 60 mg 31. Phenobarbital tab 65 mg 32. Quinine sterile sol (as dihydrochloride) 300 mg/ml (2 ml) 33. Quinine tab (as sulfate) 300 mg 34. Simvastatin tab 10 mg 35. Simvastatin tab 20 mg 36. Simvastatin tab 40 mg 37. Simvastatin tab 80 mg และปรับปรุงเพิ่มเติมราคากลางยาของยากลุ่มที่มีการผูกขาดจำนวน ๑๕8 รายการ ได้แก่ รายการยาในกลุ่มที่ ๓. กลุ่มยา Anti-neoplastic drugs ลำดับที่ 155 - 156, รายการยาในกลุ่มที่ 8.4 กลุ่มยา Tear deficiency, ocular lubricants and astringents, รายการยาในกลุ่มที่ 13.2 กลุ่มยา Triazole derivatives ลำดับที่ ๑3, รายการยาในกลุ่มที่ 22.2 กลุ่มยา Potassium-competitive acid blockers, รายการยาในกลุ่มที่ 35. กลุ่มยา Non-tricyclic/tetracyclic antidepressants ลำดับที่ 26, รายการยาในกลุ่มที่ 41. กลุ่มยา Disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) ลำดับที่ 19, รายการยาในกลุ่มที่ 59. กลุ่มยา Muscle relaxants (Neuromuscular blocking drugs) ลำดับที่ 6 - 7, รายการยาในกลุ่มที่ 62.5 Glucose sterile solution, รายการยาในกลุ่มที่ 63. กลุ่มยา Drugs for treatment of Crohn’s disease, excluding corticosteroids, รายการยาในกลุ่มที่ 64. กลุ่มยา Adrenergic agents used in anesthesia, รายการยาในกลุ่มที่ 65. กลุ่มยา Anticholinesterases and antimuscarinic drugs used in anesthesia, รายการยาในกลุ่มที่ 66. กลุ่มยา Other analgesics and antipyretics used in anesthesia, รายการยาในกลุ่มที่ 67. กลุ่มยา Other hypnotics and sedatives, รายการยาในกลุ่มที่ 68. กลุ่มยา Selective reverse muscle relaxant agents, รายการยาในกลุ่มที่ 69. กลุ่มยารักษาอาการ Menopause, รายการยาในกลุ่มที่ 70. กลุ่มยา Gonadotropins and GnRH agonist, รายการยาในกลุ่มที่ 71. กลุ่มยา Antigonadotropins, รายการยาในกลุ่มที่ 72. กลุ่มยา Antigonadotropin releasing hormones, รายการยาในกลุ่มที่ 73. กลุ่มยา Ovulation stimulants, synthetic, รายการยาในกลุ่มที่ 74. กลุ่มยา Other gynecologicals และรายการยาในกลุ่มที่ 75. กลุ่มยา Oxytocin and analogues ดังปรากฏตามที่แนบท้ายประกาศฯ ฉบับนี้ สำหรับรายการยาอื่นๆ ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงราคากลางยา ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกำหนดราคากลางยาที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง บัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ. 2563 ด้วยคณะกรรมการยาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแล และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาเพื่อทำหน้าที่พิจารณา จัดทำและปรับปรุงแก้ไขรายการยากำพร้า รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยากำพร้า ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ได้มีมติให้ปรับปรุงรายการยาในบัญชีรายการยากำพร้าให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศดังต่อไปนี้ 1. ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง บัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2562 และใช้ประกาศฉบับนี้แทน 2. ให้ยากำพร้าตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน 3. ให้ยาที่มีชื่อยา รูปแบบยา และข้อบ่งใช้ ตามรายการแนบท้ายประกาศฉบับนี้เป็นยากำพร้า ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 (ดาวน์โหลดไฟล์ได้จากลิงค์ด้านล่าง)
ข่าวประชาสัมพันธ์งานบัญชียาหลักแห่งชาติ เกณฑ์และขั้นตอนการเสนอยา โดยหน่วยงานรัฐตามโครงการพิเศษเพื่อบรรจุเป็นบัญชี จ(1) ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ มีหน้าที่ในการพิจารณารายการยาที่สมควรบรรจุไว้เป็นยาในบัญชี จ(1) ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเป็นยาในโครงการพิเศษของหน่วยงานภาครัฐที่กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบโครงการและงบประมาณ ตลอดจนมีการเสนอโครงการเพื่อพิจารณาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การเสนอโครงการ จ(1) โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คณะอนุกรรมการฯ จึงได้จัดทำเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอยา โดยหน่วยงานรัฐตามโครงการพิเศษเพื่อบรรจุเป็นบัญชี จ(1) และแบบฟอร์มการเสนอยาในโครงการ จ(1) ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานรัฐที่ต้องการเสนอโครงการ จ(1) ได้ศึกษาทำความเข้าใจ ก่อนยื่นเสนอโครงการ จ(1) ต่อคณะอนุกรรมการฯ โดยให้ใช้เกณฑ์และขั้นตอนการเสนอยาฯ นี้กับโครงการที่มีการเสนอเพื่อพิจารณาตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป รายละเอียดเกณฑ์และแบบฟอร์มดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้