ทั้งหมด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดราคากลางของยา ฉบับนี้ ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมราคากลางยาของยากลุ่มที่มีการผูกขาด จากประกาศฉบับเดิม (ฉบับลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2564) จำนวน 227 รายการ ได้แก่ รายการยาในกลุ่มที่ 1 กลุ่มยาสำหรับโรคตับอักเสบซีเรื้อรัง ลำดับที่ 13, รายการยาในกลุ่มที่ 2 กลุ่มยา Erythropoiesis - stimulating agents (ESAs), รายการยาในกลุ่มที่ 3 กลุ่มยา Anti-neoplastic drugs ลำดับที่ 150 - 178 รายการยาในกลุ่มที่ 8.6 กลุ่มยา Local anaesthetics ลำดับที่ 3, รายการยาในกลุ่มที่ 12.9 กลุ่มยา Antituberculous drugs ลำดับที่ 8, รายการยาในกลุ่มที่ 14.1 กลุ่มยา Antiretrovirals ลำดับที่ 2 - 36, รายการยาในกลุ่มที่ 26 กลุ่มยา Drugs for Obstructive Airway Diseases ลำดับที่ 65 - 72, รายการยาในกลุ่มที่ 41 กลุ่มยา Disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) ลำดับที่ 14 - 16, รายการยาในกลุ่มที่ 69.2 กลุ่มยา Progestogens ลำดับที่ 8 - 9, รายการยาในกลุ่มที่ 69.4 กลุ่มยา Hormonal contraceptives for systemic use: Progestogens, รายการยาในกลุ่มที่ 69.5 กลุ่มยา Hormonal contraceptives for systemic use: Progestogens and Estrogens, Fixed Combinations, รายการยาในกลุ่มที่ 69.6 กลุ่มยา Hormonal contraceptives for systemic use: Progestogens and estrogens, sequential preparations, รายการยาในกลุ่มที่ 74 กลุ่มยา Other gynecologicals ลำดับที่ 4 - 5, รายการยาในกลุ่มที่ 77 กลุ่มยา Treatment of vaginal and vulval conditions, รายการยาในกลุ่มที่ 78 กลุ่มยา Hemostatics, รายการยาในกลุ่มที่ 79 กลุ่มยา Drugs used in chronic bowel disorders และรายการยาในกลุ่มที่ 80 กลุ่มยา Contrast media and Radiopharmaceuticals ลำดับที่ 2 - 11 ดังปรากฏตามที่แนบท้ายประกาศฯ ฉบับนี้ ทั้งนี้สำหรับรายการยาอื่นๆ ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงราคากลางยา ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกำหนดราคากลางยาที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้ มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ ตุลาคม 2564 จำนวน 13 รายการ โดยรายการยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ จำนวนผู้ชม
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยาได้ มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลนในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ กันยายน 2564 จำนวน 9 รายการ โดยรายการยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ semenax
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง บัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ. ๒๕๖๔ ด้วยคณะกรรมการยาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแล และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา เพื่อทำหน้าที่พิจารณา จัดทำและปรับปรุงแก้ไขรายการยากำพร้า รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยากำพร้า ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้มีมติให้ปรับปรุงรายการยาในบัญชีรายการยากำพร้าให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง บัญชีรายการยากำพร้า พ.ศ. ๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และใช้ประกาศฉบับนี้แทน ๒. ให้ยากำพร้าตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน ๓. ให้ยาที่มีชื่อยา รูปแบบยา และข้อบ่งใช้ ตามรายการแนบท้ายประกาศฉบับนี้เป็นยากำพร้า ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓o กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ตามหนังสือที่อ้างถึง คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา เพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว กองยาจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 จำนวน 1 รายการ ได้แก่ Rocuronium bromide sterile sol ขนาด 50mg/5 ml เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 และยกเลิกประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มกราคม 2564 และให้ใช้รายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใข้เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2564) นั้น บัดนี้ ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 165 ง หน้า 3 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 จึงขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด และ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ทาง link ด้านล่างนี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน จำนวนผู้เข้าชม
ตามที่กองนโยบายแห่งชาติด้านยา ได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการยาขาดแคลนแบบบูรณาการ โดยให้สถานพยาบาลซึ่งเป็นผู้ใช้ยา และบริษัทยาทั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าแจ้งสถานการณ์การขาดแคลนยามายังกองนโยบายแห่งชาติด้านยา ซึ่งเป็นหน่วยงานในการประสาน รับเรื่อง ตรวจสอบข้อมูล พิจารณาแนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา จึงขอประชาสัมพันธ์รายการยาที่มีปัญหาขาดแคลน ในสถานกแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ สิงหาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 5 รายการ โดยรายการยาขาดแคลนที่ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ หมายถึง ยาที่มีความจำเป็นและส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันปริมาณ Supply ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาและ/หรือไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการกลับมาจำหน่ายเป็นปกติได้ สาเหตุการขาดแคลน (Shortage Reasons) ที่แสดงผลบนเว็บไซต์ ได้แก่ (1) ปรับปรุง/แก้ไขทะเบียน/GMP (2) ขาดวัตถุดิบทางยา (3) บริษัทยกเลิกการผลิต/นำเข้า (4) มีปัญหาด้านการขนส่ง (5) ปริมาณความต้องการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น (6) เรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาด (7) อื่นๆ
ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 213 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ยารายการใดที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยาเพื่อกำหนดราคากลางยาใหม่ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว กองยาจึงขอแจ้งประกาศรายการยาที่คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยาอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนปรับปรุงราคากลางยา ตามมติอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ยา Asparaginase sterile pwdr 10000 iu/1 vial เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ใช้อ้างอิงในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป
กองนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการสร้างความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์ในภาวะฉุกเฉิน กรณี COVID-19 ขอความร่วมมือจากท่เภสัชกรโรงพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญกรอกข้อมูลแบบสำรวจรายการยาที่ติดตามและเฝ้าระวังการขาดแคลน เพื่อให้กองนโยบายแห่งชาติด้านยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงสถานการณ์การใช้ยา สามารถคาดการณ์ปริมาณการสำรองยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤตในอีก 3 เดือนข้างหน้า รวมทั้งนำมาวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป ***กรุณาตอบแบบสำรวจ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2564*** Link แบบสำรวจรายการยาที่ติดตามและเฝ้าระวังการขาดแคลนในสถานการณ์ Covid-19 https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd4MX9e8JhlQ6hXGRmxzadKCsSth-DWQKLR3uh6eShT4ehLyg/viewform เบอร์ติดต่อ: กองนโยบายแห่งชาติด้านยา 02-5907155 Email: drugshortages.th@gmail.com
ตามหนังสือที่อ้างถึง กองยาได้ขอความร่วมมือจากผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบัน ให้รายงานข้อมูลปริมาณยาคงคลัง (Stockpile) จำนวน 58 รายการ ผ่านแอพพลิเคชั่นที่กองยาพัฒนาขึ้น โดย ให้สรุปข้อมูลทุกสิ้นเดือนของเดือนก่อน และรายงานในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับวางแผนบริหารจัดการด้านยาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดผลกระทบที่เกิดจากการขาดแคลนยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการนี้ กองนโยบายแห่งชาติด้านยา ขอเรียนว่า สถานการณ์การการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงขอปรับการรายงานข้อมูลปริมาณยาคงคลัง (Stockpile) จากจำนวน 58 รายการเป็น 70 รายการ ซึ่งกำหนดให้ท่านสรุปข้อมูลทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น Stockpile 3 ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อประสานงานทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ drugshortages.th@gmail.com เท่านั้น โดยขอยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับจะนำไปวิเคราะห์ปริมาณยาคงคลังในภาพรวมของประเทศ และจะไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเท่านั้น