สื่อวิดิทัศน์สำหรับประชาชน
การใช้ยามากเกินจำเป็น (Polypharmacy) จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าการช่วยรักษา ดังนั้นการใช้ยาที่ปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้
1. ไม่ใช้ยาที่ได้ผลเหมือนกันพร้อมกันหลายชนิด
2. ไม่ใช้ยาจากการบอกต่อ หรือโฆษณาเกินจริง
3. ไม่เพิ่มปริมาณยาเอง
4. ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรเมื่อรับยาหลายๆ ที่
จำไว้ว่า "ควรใช้ยาตามความจำเป็นจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น"
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยามากเกินจำเป็นได้ที่นี่
ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่ง (Non-compliance) ผู้ป่วยมักคิดว่าเมื่ออาการหายดีแล้วก็หยุดกินยาได้เอง ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ จึงควรใช้ยาให้ถูกต้องดังนี้
1. ใช้ยาตามวิธีที่ระบุไว้ในฉลาก
2. ใช้ยาต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง
3. ห้ามเพิ่ม ลด หรือหยุดยาเอง
"ควรใช้ยาตามแพทย์สั่ง เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดในการรักษา"
สามารถกดรับชมสื่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งได้ที่นี่
การแพ้ยา (Drug Allergy) การแพ้ยาสามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งอาการแพ้ยามีหลายอย่าง ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนรุนแรงถึงเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อลดโอกาสและความรุนแรงในการแพ้ยา ควรปฏิบัติดังนี้
ถ้าเคยแพ้ยา
(1) ควรจำชื่อยาและอาการที่เคยแพ้
(2) แสดงบัตรแพ้ยา หรือแจ้งชื่อยาที่แพ้ทุกครั้งแก่แพทย์และเภสัชกร
ถ้าใช้ยาแล้วมีอาการผิดปกติ
มีอาการคัน ปากบวม ตามัว เจ็บผิวหนัง หรืออาการอื่นๆ ที่ไม่แน่ใจ ควรหยุดยาที่สงสัยและนำยาไปปรึกษาแพทย์
สามารถกดรับชมสื่อการแพ้ยาได้ที่นี่
การเก็บรักษายา (Storage) หากเก็บยาไม่ถูกต้องอาจส่งผลลดฤทธิ์การรักษาและเป็นอันตรายได้ วิธีเก็บยาที่ถูกต้อง คือ
1. เก็บยาในที่แห้ง ปิดสนิท
2. ห้ามเก็บยาในห้องน้ำ ในที่แดดส่อถึง หรือในรถ
3. ยาบางชนิดต้องเก็บในตู้เย็นช่องเย็นธรรมดา ไม่เก็บในช่องแช่แข็ง
4. ไม่แกะยาออกจากแผงล่วงหน้า เพราะยาอาจเสื่อมสภาพ
สามารถกดรับชมสื่อการเก็บรักษายาได้ที่นี่
สรรหายา/สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพมาใช้ (Self-medication) เราไม่ควรซื้อยา / สมุนไพร / ผลิตภัณฑ์มากินเองตามคำโฆษณาชวนเชื่อ เพราะอาจมีสารที่เป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ยาที่ดีที่สุดและเห็นผลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกโรคและทุกคน คือ
1. กินอาหารที่มีประโยชน์
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
3. ออกกำลังกานสม่ำเสมอ
สามารถกดรับชมสื่อสรรหายา/สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพมาใช้ได้ที่นี่
การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (Special Population) ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ หมายถึง เด็ก ผู้สูงวัย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น เพราะอาจเสี่ยงต่อพิษจากยา โดยเฉพาะในเด็กต้องอ่านวิธีการผสมยาและการตวงยาให้ได้ขนาดที่ถูกต้อง และใช้อุปกรณ์ตวงยามาตรฐานเสมอ ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษได้ที่นี่
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use)
5 ไม่ |
5 ให้ |
1. ไม่กินยาผิดเวลา |
1. ให้อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามคำแนะนำ |
2. ไม่เพิ่ม ลด หรือหยุดยาเองตามใจชอบ |
2. ให้ใช้ยาเมื่อจำเป็น |
3. ไม่ใช้ยาของคนอื่น |
3. ให้จัดเก็บยาอย่างถูกต้อง |
4. ไม่ซื้อยากินเองซ้ำซ้อน |
4. ให้นำยามาด้วยเมื่อมาโรงพยาบาล |
5. ไม่เชื่อคำโฆษณาเชิญชวน |
5. ให้แจ้งชื่อยาที่แพ้เสมอ |
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลได้ที่นี่
การใช้ยาให้ถูกกับโรคนั้นมีหลัก 5 ประการเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง
1. ใช้ยาให้ถูกโรค
2. ใช้ยาให้ถูกคน
3. ใช้ยาให้ถูกเวลา
4. ใช้ยาให้ถูกขนาด
5. ใช้ยาให้ถูกวิธี
การเลือกใช้ยาควรเป็นหน้าที่ของแพทย์หรือเภสัชกรในการวินิจฉัยโรคและจ่ายยา หากมีความจำเป็นต้องซื้อยาทานเองต้องปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยาให้ถูกกับโรคได้ที่นี่
การใช้ยาให้ถูกเวลานั้นมีข้อกำหนดระยะเวลาในการทานยา และกรณีลืมทานยา ดังนี้
1. ยาก่อนอาหาร
ควรรับประทานตอนท้องว่าง หรือก่อนอาหาร 15-20 นาที เพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดีที่สุด และเกิดประสิทธิผลในการรักษา
2. ยาหลังอาหาร
เพื่อให้อาหารมาช่วยในการดูดซึมยา จึงรับประทานหลังอาหาร
3. ยาหลังอาหารทันที
จำเป็นต้องมีอาหารรองท้องและทานหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
4. ยาก่อนนอน
ทานก่อนนอนเวลากลางคืน
เมื่อลืมทานยา : ห้ามเพิ่มขนาดยาในการทานมื้อถัดไป
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยาให้ถูกเวลาได้ที่นี่
การใช้ยาพาราเซตามอลอย่างถูกต้อง ต้องคำนวณตามน้ำหนักตัว เพราะการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดมีผลอันตรายต่อตับ
ห้ามทานยาพาราเซตามอลเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง
ห้ามทานยาพาราเซตามอลเกิน 4,,000 มิลลิกรัมต่อวัน
สามารถกดรับชมสื่อการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างถูกต้องได้ที่นี่
การดื้อยา
ปัจจุบันเชื้อดื้อยาเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ตามผลการวิจัยระบุว่า ทุกๆ 15 นาที จะมีคนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ และยาปฏิชีวนะใช้กำจัดเชื้อเฉพาะแบคทีเรียเท่านั้น การใช้ยาไม่ตรงข้อบ่งชี้ เช่น การกินยาปฏิชีวนะเผื่อไว้ก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการเจ็บคอส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสหากทานยาปฏิชีวนะจะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นต้น
สามารถกดรับชมสื่อการดื้อยาได้ที่นี่
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำเป็นกับร่างกายเราหรือไม่ ?
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถรักษาโรคได้ หากทานอาหารครบ 5 หมู่ ก็จะได้รับสารอาหารครบถ้วน
ก่อนเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาเภสัชกร
สามารถกดรับชมสื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำเป็นกับร่างกายเราหรือไม่ได้ที่นี่
ยาชุดอันตราย
ยาชุดมีสารอันตราย หากทานยาชุดเป็นเวลานานอาจทำให้ ไตฝ่อ ไตวาย กระดูกหักง่าย ตาเป็นต้อหิน ต้อกระจก นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรืออาจติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต การใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาเภสัชกร
สามารถกดรับชมสื่อยาชุดอันตรายได้ที่นี่
ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก
วิธีคำนวณยาพาราเซตามอลในเด็ก สิ่งที่ต้องรู้ คือ (1) น้ำหนักตัวและอายุ (2) ความเข้มข้นของยาใน 1 ช้อนชา
การคำนวณ : เด็กได้ยา 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) X ปริมาณยาที่ต้องใช้ (10-15 มิลลิกรัม) |
สามารถกดรับชมสื่อยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กได้ที่นี่
อันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร เพราะบางผลิตภัณฑ์อาจใส่สารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางที่จะไปลดสารสื่อประสาท ส่งผลให้ไม่รู้สึกหิว อืลิ่มเร็วขึ้น ปากแห้ง คลื่่นไส้ ไตวาย ท้องผูก ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ปวดหัว นอนไม่หลับ มีโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน อาจเสียชีวิต การทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
สามารถกดรับชมสื่ออันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วนได้ที่นี่
การเช็ดตัวเด็กเมื่อเป็นไข้
การชักเมื่อไข้สูงมักไม่เกิดในเด็อายุ 6 ปีขึ้นไป การรักษาไข้ไม่ใช่การรักษาอุณหภูมิให้ปกติ แต่เป็นการลดความทุกข์ทรมานจากพิษไข้เท่านั้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ดี และร่างกายจะเยียวยาตัวเองได้ ดังนั้นการปลุกเด็กขึ้นมาเช็ดตัวเมื่อหลับแล้วไม่ควรทำ
สามารถกดรับชมสื่อการเช็ดตัวเด็กเมื่อเป็นไข้ได้ที่นี่
ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic) ใช้รักษาเฉพาะกับโรคทีติดเชื้อแบคทีเรีย
ยาแก้อักเสบ (ยาต้านอักเสบ) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบ ลดอาการปวด บวม แดง ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
"ยาปฏิชีวนะ ≠ ยาแก้อักเสบ"
สามารถกดรับชมสื่อ ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบได้ที่นี่
รณรงค์ซองยาต้องมีชื่อยา - โครงการรณรงค์เขียนชื่อยาบนซองยา
ลดปัญหา
- การแพ้ยาซ้ำ
- ได้รับยาเกินขนาดซ้ำซ้อน
- ขาดการรักษาต่อเนื่อง
- เสียทรัพย์โดยเปล่าประโยชน์
สามารถกดรับชมสื่อซองยาต้องมีชื่อยาได้ที่นี่ - เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค จ.อุบลราชธานี